เปิดตัว Windows 11 เป็นทางการแล้ว

เริ่มขึ้นแล้วกับการ เปิดตัว Windows 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2021 ซึ่งตอบโจทย์ทั้งคนทำงานและเกมเมอร์มาก
การอัพเดคต่างๆ ผู้คนที่ใช้ Windows 10 จะสามารถอัพเกรดเป็น Windows 11 ในปีนี้ ประมาณช่วงสิ้นปี 2021 โน๊ตบุ๊คต่างๆที่พึ่งอัพเกรดใหม่ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็สามารถอัพเกรดได้อย่างแน่นอน
ไปดูเรื่องสเปคและอุปกรณต่างๆที่รองรับกัน
สเปคของวินโดวส์ 11 ที่ทางไมโครซอฟท์ประกาศออกมาที่หน้าเว็บไซต์ มีรายละเอียดดังนี้
สเปคที่ต้องการ | Windows 11 | Windows 10 |
ซีพียู | ซีพียูแบบ 2 คอร์ขึ้นไปและรองรับการทำงานแบบ 64-bit หรือ System on a Chip (SoC) ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป ดูซีพียู Intel รุ่นที่รองรับวินโดวส์ 11 ได้ที่นี่ ดูซีพียู AMD รุ่นที่รองรับวินโดวส์ 11 ได้ที่นี่ | ซีพียูความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป |
แรม | 4GB ขึ้นไป | 1 GB (32-bit) 2 GB (64-bit) |
ฮาร์ดดิสก์ | 64GB ขึ้นไป | 16 GB (32-bit) 20 GB (64-bit) |
การ์ดจอ | รองรับ DirectX 12 หรือ WDDM 2.x | รองรับ DirectX 9 หรือ WDDM 1.0 |
ขนาดหน้าจอ | 9 นิ้วขึ้นไป ความละเอียด HD (720p) | 800 x 600 พิกเซล |
System Firmware | UEFI และรองรับ Secure Boot | – |
TPM | Trusted Platform Module 2.0 (TPM 2.0) | – |
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต | ต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ Microsoft Account และติดตั้ง Windows 11 Home | เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ Microsoft Account |
มีคนหลายคน ที่ทดลอง PC Health Check มาติดตั้งแล้วเครื่องยังไม่รองรับ Windows 11 ทั้งที่สเปคของตัวเครื่องเกินที่ชประกาศไปหลายเท่าแล้ว ซึ่งแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
วิธีแก้ปัญหา TPM 2.0 ที่ PC Health Check ฟ้องว่าลง Windows 11 ไม่ได้
เราไปดูการแก้ปัญหากัน ว่าควรทำอย่างไร เมื่อใช้ PC Health Check ไม่ได้ โปรแกรมจะขึ้นคำว่า “This PC can’t run Windows 11”ซึ่งเป็นปัญหาของ หลายๆรุ่น หลายบุคคล เบื้องเราต้องแก้ที่ BIOS เริ่มต้นให้เรา Reset เครื่องแล้วกด Del, F2 จนกว่าตัวเครื่องจะบูตเข้าหน้า BIOS สำเร็จ
วิธีตั้งค่า FTPM สำหรับคอมประกอบเองทั้ง AMD, INTEL
สำหรับเมนบอร์ด AMD ด้านของการตั้งค่า fTPM จะเจอได้ใน Settings\Security\Trusted Computing ให้เราเลือกเป็น Security Device Support จาก Disable เป็น Enable แล้วจะมีหัวข้อขึ้นมา AMD fTPM switch แล้วกดเป็น AMD CPU fTPM ก่อนแล้ว Save & Exit
ด้านตัว Intel ก็จะเป็น fTPM เช่นกัน เมื่อเข้าหน้า BIOS แล้วให้เลือก Advanced\PCH-FW Configuration แล้วจะมีหัวข้อ TPM Device Selection ให้เลือกเป็น Firmware TPM จากนั้น Save & Exit
เมื่อตั้งค่า fTPM ของซีพียู AMD, Intel ในหน้า BIOS เสร็จแล้วมาทดลองเปิด PC Health Check อีกครั้ง จะเห็นว่าตอนนี้เครื่องของเราจะติดตั้งวินโดวส์ 11 ได้แล้วพร้อมขึ้นคำว่า “This PC can run Windows 11” เท่านี้ก็รอทาง Microsoft ปล่อยอัพเดทมาให้โหลดติดตั้งได้เลย